วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Computer Assisted Language Learning (CALL) in Each Phases

Computer Assisted Language Learning (CALL) in Each Phase

CALL หรือคอมพิวเตอร์ที่ใช้ช่วยในการสอนภาษา มีวิวัฒนาการการพัฒนาออกเป็น3 ยุคหลักๆ ดังต่อไปนี้

  1. Behaviorist CALL เป็นยุคแรกของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การเรียนการสอนยังคงเป็นรูปแบบของการฝึกซ้ำๆ ภายใต้หลักการของการสร้างแรงจูงใจแก่ผู้เรียน โปรแกรมของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในยุคนี้ขึ้นอยู่กับทฤษฏีทางพฤติกรรมในการเรียนรู้ ซึ่งคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในยุคนี้ก็มีฮาร์ดแวร์พิเศษเฉาะ อันได้แก่ แบบฝึกหัดเกี่ยวกับแบบฝึกหัด คำอธิบายไวยากรณ์อย่างย่อ และข้อสอบการแปล
  2. Communicate CALL ขึ้นอยู่กับทฤษฏีการสอนแบบ Communicative Teaching Approaches การสอนในรูปแบบนี้นั้นเน้นการส่งเสริมการสนทนาในสถานการณ์และบริบทจริง ซึ่งในรูปแบบแรกนั้นคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่เสมือนครูสอนพิเศษทีให้ทางเลือก ควบคุม และการบูรณาการณ์ อีกเป็นทั้งผู้กระตุ้นความสนใจและเป็นเครื่องมือแก่ผู้เรียนไปพร้อมๆกัน 
  3. Integrative CALL การเรียนการสอนยุคนี้มีคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียและอินเตอร์เน็ตมาเป็นเทคโนโลยีที่สนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ทางภาษาในการบูรณาการณ์ทักษะทางภาษาทั้งสี่เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ซึ่งทำให้บรรยากาศการเรียนภาษาของนักเรียนนั้นมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น อีกทั้งมีความสอดคล้องกับการพัฒนาอย่างรวดเร็วของอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันที่ให้ผู้เรียนเข้าถึงแหล่งเรียนรู้และอุปกรณ์การเรียนอยู่ตลอดเวลา ต่อไปก็คงไม่เป็นที่น่าแปลกใจมากนักที่เห็้นการเรียนแบบ EFL อาจใช้กระบวนการเรียนแบบCALL ก็ได้ในอนาคตอันใกล้

What are trends in educational technology?
      
       CALL  หาสื่อที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน และครูผู้สอนจะต้องประเมินด้วยว่ามีความเหมาะสมหรือไม่
  • คอมพิวเตอร์มีอยู่ทั่วๆไปในโรงเรียน สถาบันการศึกษาระดับสูง  เพราะฉะนั้นนักเรียนทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อคอมพิวเตอร์ได้
  • การเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่างๆที่อยู่ไกลๆเหมือนกันทั่วโลก
  • เทคโนโลยีทางการศึกษาเพิ่มขึ้นทั้งที่บ้านและสังคม
  • ความต้องการใหม่  คือ  ครูต้องนำเทคโนโลยีมาใช้ได้
  • เครือข่ายเป็นวิธีการที่เร็วในการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา
  • การสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีเพิ่มขึ้น
  • ระบบการส่งต่อข้อมูลสำหรับการศึกษาเพิ่มมากขึ้น
  • เทคโนโลยีถือเป็นการขับเคลื่อนไปสู่การปฏิรูปการศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น